เมื่อเวลา 13.45 น. ของวันที่ 22 กันยายน 2566ที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา แถลงสรุปผลการดำเนินงานภายใต้นโยบาย "รักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน" ในวาระดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566
นายโชติวัฒน์ เผยว่า นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งได้วางแผนดำเนินการและเร่งขับเคลื่อนนโยบายให้สำเร็จตามเป้าหมาย มุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจระหว่างบุคลากรศาลยุติธรรม
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ" เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่
โปรดเกล้าฯ ตั้ง "อโนชา ชีวิตโสภณ" เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่
เปิดประวัติ "อโนชา ชีวิตโสภณ" ประธานศาลฎีกาหญิง คนที่ 3
เพื่อร่วมกันอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป้าหมายสูงสุด คือ "รับใช้ประชาชน" ให้สามารถเข้าถึงการบริการของศาลยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียมกันคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ผมได้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงาน ความรู้ ความเข้าใจตระหนักถึงภาระหน้าที่ของพวกเรา อย่างเช่น ผู้พิพากษาได้เร่งรัดคดี และทำให้มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่พนักงาน ลูกจ้างศาล ก็อำนวยความสะดวกประชาชนที่มาติดต่อราชการ ภาระหน้าที่ของเรา คือการแก้ไขปัญหาความทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชน ขอบคุณผู้บริหารศาลทุกภาคส่วน ทุกๆ ท่านล้วนช่วยกันเสียสละเพื่อองค์กร ผมได้ยินคำชมจากประชาชนในเรื่องที่ศาลเปิดทำการนอกเวลา เรายังไม่เห็นหน่วยงานราชการไหนที่ทำแบบนี้ ความสำเร็จเหล่านี้ไม่ใช่ของผมแน่นอน แต่เกิดจากทุกท่าน
สำหรับการดำเนินตามนโยบายทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. "รักศาล" ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นมา ได้ออกตรวจเยี่ยมศาลและหน่วยงานในสังกัดศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน รวมทั้งติดตามให้คำแนะนำและวางแนวทางในการบริหารจัดการคดี ได้เห็นถึงการพัฒนาระบบงานของศาลยุติธรรม และความเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการคดี ซึ่งเมื่อพิจารณาอัตราคดีแล้วเสร็จและการบริหารจัดการคดีที่ค้างพิจารณาเกินเกณฑ์มาตรฐาน แล้วพบว่าอัตราแล้วเสร็จของคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยศาลที่สามารถบริหารจัดการคดีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่เรียกว่าศาลสีเขียวนั้น จากเดิมสถิติวันที่ 1 ตุลาคม 2565 มีจำนวน 79 ศาล จนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 146 ศาล และภายในปีงบประมาณนี้มีอีกหลายศาลที่มีแนวโน้มเป็นศาลสีเขียวได้ ส่วนกลุ่มศาลที่มีแนวโน้มจะกลับเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน หรือศาลสีเหลือง เดิมมีจำนวน 25 ศาล เพิ่มขึ้นเป็น 48 ศาล สำหรับกลุ่มศาลที่มีคดีค้างพิจารณาเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องเร่งดำเนินการและติดตามกำกับดูแล หรือศาลสีแดง เดิมมี 171 ศาล ขณะนี้จำนวนลดลงเหลือ 81 ศาล และเมื่อติดตามอัตราคดีแล้วเสร็จ ปรากฏข้อมูลว่าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ศาลชั้นต้นทั่วประเทศดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยสามารถพิจารณาคดีแล้วเสร็จถึงร้อยละ 85.03 ของคดีที่ค้างมาและรับใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งการบริหารจัดการคดีที่มีประสิทธิภาพนี้ ส่งผลให้คดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้วเสร็จไปโดยไม่ล่าช้า และประชาชนผู้มีอรรถคดีได้รับการคุ้มครองเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างรวดเร็ว ขณะที่การมุ่งเสริมสร้างประสิทธิภาพงานของศาลยุติธรรม พร้อมพัฒนาบุคลากรผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ให้แก่ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมและข้าราชการศาลยุติธรรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ตลอดจนจัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและระบบการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมต่างๆ ขณะที่ชมรมคู่สมรสตุลาการศาลยุติธรรมยังมอบทุนการศึกษาแก่บุตรของข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างในหน่วยงานสังกัดศาลยุติธรรมด้วย
2. "ร่วมใจ"ในโอกาสที่ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศาล ประธานศาลฎีกาเน้นย้ำเสมอถึงการร่วมโครงการจัดประกวดคัดเลือกศาลดีเด่นเพื่อประชาชน โดยสำนักงานศาลยุติธรรมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการทำงาน ให้ศาลทุกแห่งทั่วประเทศมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม รวดเร็ว โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากศาลทั่วประเทศ มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงการนี้จึงนับได้ว่าส่งเสริมให้บุคลากรมีเป้าหมายในการทำงานเพิ่มขึ้น และเป็นการแข่งขันที่ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ "ประชาชน"
นอกจากเป้าหมายการร่วมใจพัฒนาศักยภาพการทำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพของการพิจารณาคดีก็เป็นข้อสำคัญต่อการอำนวยความยุติธรรมภายใต้ความรวดเร็ว เป็นธรรม ทั่วถึง และมีมาตรฐานเดียวกัน ประธานศาลฎีกาจึงได้ออกข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ รองรับการบังคับใช้กฎหมายใหม่ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2566, ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566, ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ. 2566 และคำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการบริหารจัดการคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในศาลชั้นต้น พ.ศ. 2566
3. "รับใช้ประชาชน" ปัจจุบันศาลยุติธรรมได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน และนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้บริการทางคดีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แก่คู่ความในคดี และประชาชนในการติดต่อราชการศาล ประกอบด้วย
การจัดทำโครงการเชื่อมโยงข้อมูลคดีบุคคลล้มละลายของศาลล้มละลายกลางกับศาลยุติธรรมทั่วประเทศ ดำเนินการภายใต้นโยบายร่วมใจระหว่างศาล ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อการบริการด้านคดีและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนด้วย โดยพัฒนาระบบการสืบค้นข้อมูลบุคคลล้มละลายผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม หรือซีออส (CIOS) ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการดำเนินคดีโดยหากพบว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ฟ้องคดีจะได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในช่องทางที่เหมาะสมต่อไป
กาาพัฒนาระบบยื่นคำคู่ความและเอกสารในคดีแรงงานผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม เพื่อให้บริการประชาชนในการยื่นฟ้องคดีแรงงานสำหรับบุคคลผู้เป็นลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และมีความประสงค์จะยื่นฟ้องนายจ้าง ซึ่งระบบดังกล่าวพัฒนาบนพื้นฐานของฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form) เต็มรูปแบบที่เปิดให้คู่ความสามารถกรอกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยสามารถยื่นฟ้องได้เองผ่านระบบ CIOS
การพัฒนาระบบยื่นคำร้องขอจัดการมรดกและตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบ e-Filing สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก ให้สามารถยื่นคำร้องขอจัดการมรดกได้ด้วยตนเอง ใน 2 กรณี คือ กรณีทายาททุกคนยินยอมให้ผู้ร้องนั้นเป็นผู้จัดการมรดก (ไม่มีการคัดค้าน) และกรณีที่มีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ผู้ร้องนั้นเป็นผู้จัดการมรดก
การพัฒนาระบบจัดทำหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด และหมายบังคับคดีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ โดยเปิดให้ประชาชนหรือคู่ความสามารถยื่นขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดและหมายบังคับคดีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Filing ซึ่งสิ่งพิมพ์ที่ออกจากระบบจะอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้การรับรองตามกฎหมาย และสามารถนำไปยื่นเพื่อติดต่อทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ ได้
การจัดทำระบบตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งพิมพ์ออกของสำนักงานศาลยุติธรรม โดยสามารถตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งพิมพ์ได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://validation.coj.go.th/ ซึ่งเป็นการรองรับระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ และรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้
การพัฒนาระบบสารสนเทศสำนวนคดีศาลชั้นต้นระยะ 3 (CIMS3) เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ในศาลยุติธรรม ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติคดี ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดี ตลอดจนสร้างฐานข้อมูลคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของทุกศาลทั่วประเทศ เพื่อมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการบริหารจัดการคดีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชาชน
การพัฒนาระบบยื่นคำคู่ความและเอกสารในคดีความผิดทางพินัยผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรมเพื่อรองรับการยื่นฟ้องคดีความผิดทางพินัยจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยพนักงานอัยการสามารถยื่นคำฟ้องและเอกสารในคดีความผิดทางพินัยผ่านระบบ e-Filing ได้ ซึ่งจะช่วยให้การยื่นฟ้องและการพิจารณาพิพากษาคดีมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากการพัฒนานวัตกรรมศาลยุติธรรมเพื่อประชาชนแล้ว ประธานศาลฎีกายังให้ความสำคัญต่อการสร้างโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและบริการของศาลยุติธรรม ด้วยการจัด “โครงการ Justice by Design : กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้” และ “โครงการ e-Hearing Design Lab : ร่วมออกแบบกระบวนการบันทึกคำเบิกความพยานด้วยภาพและเสียงที่เป็นมิตรกับทุกคน” โดยให้ประชาชนผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้ออกแบบบริการศาลยุติธรรมด้วยตนเอง อันจะทำให้การบริการของศาลยุติธรรมตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการศาลยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมกำลังนำแนวคิด ข้อเสนอแนะของประชาชนมาปรับใช้และพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมสนับสนุนให้ศาลในภูมิภาคต่างๆ ได้ศึกษาและนำแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมของประชาชนไปปรับใช้ผ่านการประกวดศาลดีเด่นอีกด้วย
โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงไทย กับภารกิจอีก 3 นัด ศึกคัดโอลิมปิก 2024
โปรแกรมการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2022 ประจำวันศุกร์ที่ 22 ก.ย. 66